สวัสดีครับ วันนี้มาพูดต่อกันเรื่อง Speed Shutter ใน EP.2 กับครับ หลาย ๆ คนอาจเคยได้ยิน Speed Shutter กันมาบ้างแล้วนะครับ ถ้าฟังจากชื่อ บางท่านอาจเข้าใจว่า มันคือการกด ถ่ายภาพรัว ๆ ซึ่งมันเป็นความเข้าใจที่ผิดครับ
Speed Shutter หรือที่เรียกว่า ค่าความเร็วชัตเตอร์ เป็นค่าที่แสดงถึงการทำงานของม่านที่มีหน้าที่ในการเปิด - ปิดเซนเซอร์ภาพ โดยความเร็วชัตเตอร์นี้มีหน่วยเป็นวินาที อย่างเช่น 1" 1/2 1/4 1/8 ยิ่งเลขจำนวนน้อย ก็ยิ่งมีความเร็วชัตเตอร์เร็วขึ้น
Shutter Speed มีผลต่อแสงที่จะเข้ามาที่เซนเซอร์ภาพ รวมทั้งมีผลต่อการจับภาพที่มีการเคลื่อนไหวด้วย ยกตัวอย่างเช่น เราต้องการถ่ายภาพพลุให้เป็นเส้น ดวงดาวให้เป็นเส้น หรือถ่ายน้ำตกให้เกิดเป็นสายสวยงาม เราก็จะใช้ Speed Shutter ที่นานเป็นวินาที เช่น ตั้งค่า Speed Shutter ไว้ที่ 1" (ความเร็วชัตเตอร์ 1 วินาที) หากเราต้องการที่จะถ่ายภาพที่มีความเคลื่อนไหวให้หยุดนิ่ง เราก็จะต้องตั้ง Speed Shutter ไว้ที่ความเร็วสูง ๆ เช่น Speed Shutter 1/125, 1/250, 1/400 เป็นต้น ในทางกลับกัน หากใช้ Speed Shutter ที่นาน ก็จะส่งผลให้ภาพเกิดความเบลอเช่นกัน โดยเราสามารถสรุปเรื่องของ Shutter Speed ได้ดังนี้
หาก Speed Shutter ถูกตั้งให้มีการเปิด-ปิด เป็นเวลานาน
เช่น Speed Shutter 1" สิ่งที่เกิดขึ้นจะเป็นดังนี้
- ม่านชัตเตอร์จะเปิด-ปิดช้า
- แสงจะเข้าเซนเซอร์ภาพได้มาก
- หากถ่ายภาพที่วัตถุกำลังเคลื่อนไหวอยู่จะทำให้เกิดความเบลอ
หาก Speed Shutter ถูกตั้งให้มีการเปิด-ปิด ด้วยความเร็ว
เช่น Speed Shutter 1/400 (ความเร็วชัตเตอร์ 1/400 วินาที) จะส่งผลให้
- ม่านชัตเตอร์จะเปิด-เปิดเร็ว
- แสงจะเข้าเซนเซอร์ภาพได้ช้า เนื่องจากมันเปิด-ปิดเร็ว
- ทำให้ภาพที่วันถุกำลังเคลื่อนไหวอยู่ถูกหยุดนิ่ง
" โดยปกติหากถ่ายภาพโดยไม่ใช้ขาตั้ง สปีดชัตเตอร์จะต้องไม่ต่ำกว่าระยะช่วงเลนส์ เช่น หากเราต้องการใช้เลนส์ 50mm ในการถ่ายภาพบุคคล (Portrait) หากไม่ใช้ขาตั้ง เราจะต้องตั้ง Speed Shutter ให้มีความเร็วที่ 1/50 ขึ้นไป หากช้ากว่านั้น จะต้องใช้ขาตั้งกล้อง ไม่เช่นนั้นภาพจะเกิดความเบลอ "
1. การถ่ายภาพแสงไฟขณะรถกำลังวิ่ง และภาพวาดไฟ
- ใช้เทคนิคแบบเปิด Speed Shutter ไว้นาน ๆ (ดูตัวอย่างการตั้งค่าตามภาพ)
2. การถ่ายภาพกีฬา
- ใช้เทคนิคแบบเปิด Speed Shutter เร็ว (ดูตัวอย่างด้านล่าง)
3. การถ่ายภาพน้ำตก
- แนะนำให้ใช้ Polarizer Filter (ฟิวเตอร์ลดแสง) เราจะมาพูดถึงการเลือก Filter ในภายหลัง
- ใช้เทคนิคแบบเปิด Speed Shutter ช้า(ดูตัวอย่างด้านล่าง)
4. การถ่ายทางช้างเผือก
การถ่ายทางช้างเผือกนั้นไม่ยาก แต่จะต้องใช้ความเข้าใจในหลาย ๆ เรื่อง เพื่อที่จะถ่ายภาพให้ออกมาสวยงาม ในโพสต์นี้จะยกตัวอย่างในเรื่องของ Speed Shutter ให้ได้ทราบกัน ส่วนเทคนิคการถ่ายทางช้างเผือกนั้น จะกล่างถึงในภายหลัง
จบไปแล้วครับกับ EP.2 หลังจากที่ได้อ่าน EP นี้ หวังว่าทุกท่านจะรู้สึกมีแรงบันดาลใจในการถ่ายภาพมากขึ้นนะครับ เราจะเห็นได้ว่า หากเราเข้าใจในเรื่องพื้นฐาน ภาพต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นดังที่ยกตัวอย่างมาข้างต้นนั้น ล้วนเกิดจากกล้อง + เลนส์ที่อยู่ในมือก่อน เรายังสามารถนำภาพเหล่านั้นมา Process ผ่าน Photoshop ผ่าน Lightroom ได้อีก ภาพสวย ๆ นั้นเกิดขึ้นจากการมองภาพของช่างภาพ และเกิดจากความเข้าใจในเรื่องพื้นฐานเป็นอย่างดี ขอให้ทุกท่าหมั่นศึกษากล้องของตน รวมถึงการฝึกฝนเป็นเรื่องที่สำคัญ ในวันนี้ขอจบเพียงเท่านี้ก่อนครับ หากมีข้อสงสัย สามารถคอมเมนต์ถาม หรือส่งข้อความมาส่วนตัวได้เลยครับ ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามครับ
Speed Shutter หรือที่เรียกว่า ค่าความเร็วชัตเตอร์ เป็นค่าที่แสดงถึงการทำงานของม่านที่มีหน้าที่ในการเปิด - ปิดเซนเซอร์ภาพ โดยความเร็วชัตเตอร์นี้มีหน่วยเป็นวินาที อย่างเช่น 1" 1/2 1/4 1/8 ยิ่งเลขจำนวนน้อย ก็ยิ่งมีความเร็วชัตเตอร์เร็วขึ้น
" Shutter Speed ส่งผลกับการถ่ายภาพอย่างไร? "
Shutter Speed มีผลต่อแสงที่จะเข้ามาที่เซนเซอร์ภาพ รวมทั้งมีผลต่อการจับภาพที่มีการเคลื่อนไหวด้วย ยกตัวอย่างเช่น เราต้องการถ่ายภาพพลุให้เป็นเส้น ดวงดาวให้เป็นเส้น หรือถ่ายน้ำตกให้เกิดเป็นสายสวยงาม เราก็จะใช้ Speed Shutter ที่นานเป็นวินาที เช่น ตั้งค่า Speed Shutter ไว้ที่ 1" (ความเร็วชัตเตอร์ 1 วินาที) หากเราต้องการที่จะถ่ายภาพที่มีความเคลื่อนไหวให้หยุดนิ่ง เราก็จะต้องตั้ง Speed Shutter ไว้ที่ความเร็วสูง ๆ เช่น Speed Shutter 1/125, 1/250, 1/400 เป็นต้น ในทางกลับกัน หากใช้ Speed Shutter ที่นาน ก็จะส่งผลให้ภาพเกิดความเบลอเช่นกัน โดยเราสามารถสรุปเรื่องของ Shutter Speed ได้ดังนี้
หาก Speed Shutter ถูกตั้งให้มีการเปิด-ปิด เป็นเวลานาน
เช่น Speed Shutter 1" สิ่งที่เกิดขึ้นจะเป็นดังนี้
- ม่านชัตเตอร์จะเปิด-ปิดช้า
- แสงจะเข้าเซนเซอร์ภาพได้มาก
- หากถ่ายภาพที่วัตถุกำลังเคลื่อนไหวอยู่จะทำให้เกิดความเบลอ
หาก Speed Shutter ถูกตั้งให้มีการเปิด-ปิด ด้วยความเร็ว
เช่น Speed Shutter 1/400 (ความเร็วชัตเตอร์ 1/400 วินาที) จะส่งผลให้
- ม่านชัตเตอร์จะเปิด-เปิดเร็ว
- แสงจะเข้าเซนเซอร์ภาพได้ช้า เนื่องจากมันเปิด-ปิดเร็ว
- ทำให้ภาพที่วันถุกำลังเคลื่อนไหวอยู่ถูกหยุดนิ่ง
ความเร็วชัตเตอร์
ขอบคุณภาพจาก Creativelive
-- TRICK เล็กน้อย --" โดยปกติหากถ่ายภาพโดยไม่ใช้ขาตั้ง สปีดชัตเตอร์จะต้องไม่ต่ำกว่าระยะช่วงเลนส์ เช่น หากเราต้องการใช้เลนส์ 50mm ในการถ่ายภาพบุคคล (Portrait) หากไม่ใช้ขาตั้ง เราจะต้องตั้ง Speed Shutter ให้มีความเร็วที่ 1/50 ขึ้นไป หากช้ากว่านั้น จะต้องใช้ขาตั้งกล้อง ไม่เช่นนั้นภาพจะเกิดความเบลอ "
ตัวอย่างการถ่ายภาพประเภทต่าง ๆ
1. การถ่ายภาพแสงไฟขณะรถกำลังวิ่ง และภาพวาดไฟ
- ใช้เทคนิคแบบเปิด Speed Shutter ไว้นาน ๆ (ดูตัวอย่างการตั้งค่าตามภาพ)
NIKON D750 + 24-70mm f/2.8 @ 42mm, ISO 50, 23 seconds, f/11.0
ขอบคุณภาพจาก Photographylife
2. การถ่ายภาพกีฬา
- ใช้เทคนิคแบบเปิด Speed Shutter เร็ว (ดูตัวอย่างด้านล่าง)
NIKON D600 + 300mm f/2.8 @ 300mm, ISO 4000, 1/500, f/4.0
ขอบคุณภาพจาก Photographylife
3. การถ่ายภาพน้ำตก
- แนะนำให้ใช้ Polarizer Filter (ฟิวเตอร์ลดแสง) เราจะมาพูดถึงการเลือก Filter ในภายหลัง
- ใช้เทคนิคแบบเปิด Speed Shutter ช้า(ดูตัวอย่างด้านล่าง)
NIKON D800 + 14-24mm f/2.8 @ 14mm, ISO 200, 1/1, f/13.0
ขอบคุณภาพจาก Photographylife
4. การถ่ายทางช้างเผือก
การถ่ายทางช้างเผือกนั้นไม่ยาก แต่จะต้องใช้ความเข้าใจในหลาย ๆ เรื่อง เพื่อที่จะถ่ายภาพให้ออกมาสวยงาม ในโพสต์นี้จะยกตัวอย่างในเรื่องของ Speed Shutter ให้ได้ทราบกัน ส่วนเทคนิคการถ่ายทางช้างเผือกนั้น จะกล่างถึงในภายหลัง
NIKON D3S + 24mm f/1.4 @ 24mm, ISO 1600, 20 seconds, f/1.4
ขอบคุณภาพจาก Photographylife
จบไปแล้วครับกับ EP.2 หลังจากที่ได้อ่าน EP นี้ หวังว่าทุกท่านจะรู้สึกมีแรงบันดาลใจในการถ่ายภาพมากขึ้นนะครับ เราจะเห็นได้ว่า หากเราเข้าใจในเรื่องพื้นฐาน ภาพต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นดังที่ยกตัวอย่างมาข้างต้นนั้น ล้วนเกิดจากกล้อง + เลนส์ที่อยู่ในมือก่อน เรายังสามารถนำภาพเหล่านั้นมา Process ผ่าน Photoshop ผ่าน Lightroom ได้อีก ภาพสวย ๆ นั้นเกิดขึ้นจากการมองภาพของช่างภาพ และเกิดจากความเข้าใจในเรื่องพื้นฐานเป็นอย่างดี ขอให้ทุกท่าหมั่นศึกษากล้องของตน รวมถึงการฝึกฝนเป็นเรื่องที่สำคัญ ในวันนี้ขอจบเพียงเท่านี้ก่อนครับ หากมีข้อสงสัย สามารถคอมเมนต์ถาม หรือส่งข้อความมาส่วนตัวได้เลยครับ ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามครับ