ให้คะแนนกระทู้:
  • 1 โหวต - 5 เฉลี่ย
  • 1
  • 2
  • 3
  • 4
  • 5
[ถ่ายภาพกันมั้ย] EP.1 : Aperture เรื่องของรูรับแสง
#1
สวัสดีครับ วันนี้เราจะมาคุยกันเรื่องการถ่ายภาพ หลาย ๆ คนอาจจะเข้าใจว่า การถ่ายภาพ คือการหยิบกล้องขึ้นมาแล้วก็กดถ่าย ซึ่งนั่นเป็นความเข้าใจที่ผิวเผิน และเราอาจจะได้รูปภาพ แต่รู้หรือไม่ว่า ในการถ่ายภาพนั้น มีเรื่องต่าง ๆ ที่มากกว่าการที่เรายกกล้องขึ้นมา แล้วกดถ่ายเลย ในวันนี้เป็นตอนแรก ที่เราจะพูดถึง "พื้นฐานการถ่ายภาพ" ในตอนนี้ เราจะพูดถึง "รูรับแสง (Aperture)" กันว่า รูรับแสงนั้นมีหน้าที่อะไร

รูรับแสง (Aperture) เป็นรูที่แสงจะผ่านเข้าไปยังกล้อง เลนส์ที่มีรูรับแสงกว้าง แสงก็จะสามารถผ่านเข้าไปได้มาก ในทางกลับกัน เลนส์ที่รูรับแสงแคบ แสงก็จะผ่านไปได้น้อย

แล้วรูรับแสงกว้าง หรือรูรับแสงแคบ มันต่างกันอย่างไร?


1. รูรับแสงที่กว้าง
- แสงจะเข้ากล้องมาก ทำให้ภาพสว่าง สามารถถ่ายกลางคืนได้ดี
- เหมาะสำหรับการถ่ายภาพบุคคล (Portrait) ซึ่งจะสามารถละลายหลังได้ดี

2. รูรับแสงที่แคบ
- แสงจะเข้ากล้องน้อย ถ่ายภาพแล้วจะชัดทั้งภาพ
- เหมาะกับการถ่ายวิวมากกว่าถ่ายบุคคล เพราะไม่ละลายหลัง
- ไม่เหมาะกับการถ่ายในที่สภาพแสงน้อย

[Image: A4fstop-1.jpg]
ขอบคุณภาพจาก ECMALL


หลังจากที่เราได้รู้เรื่องของรูรับแสงแล้ว เราจะมาพูดกันถึงเรื่องของ "F-Number หรือ F-Stop" โดยเลนส์ทุกตัวมีรูรับแสงที่กว้างสุดและแคบสุด โดยจะแสดงเป็นค่า F-Number โดยในการถ่ายภาพผ่านกล้องของเรานั้น จะมีการแสดงให้เรารู้ว่า รูรับแสงนั้นอยู่ที่เท่าไหร่ เช่น ในกล้องอาจจะแสดงเป็น F1.8, F2.8, F5.6 แบบนี้เป็นต้น ด้วยตัวเลขนี้ ทำให้เกิดปัญหาโลกแตกเกิดขึ้นนั่นคือ เกิดความเข้าใจผิดว่า ค่า F ที่มีค่าน้อย หมายถึง รูรับแสงแคบ นั่นเป็นความเข้าใจที่ผิด!! โปรดจำให้ขึ้นใจเลยว่า

"F-Number น้อย = รูรับแสงกว้าง"
"F-Number มาก = รูรับแสงน้อย (แคบ)"

โดยดูได้จากภาพด้านบน

นอกจากนี้ ค่า F-Number / F-Stop ไม่ได้ทำให้ภาพแสงเพิ่มหรือลดอย่างเดียว แต่ยังทำให้เกิดระยะชัด (Depth of Field) ด้วย ค่า F ที่มีมากล้น ทำให้เรางงว่าควรจะใช้อะไรถ่ายอะไรดี อย่างที่เราได้รู้ว่า ค่า F จะส่งผลต่อระยะชัดของภาพด้วย หมายความว่า เมื่อเราต้องการถ่ายภาพบุคคลที่มีการละลายหลัง เราก็ควรจะใช้ค่า F กว้าง ๆ หากต้องการถ่ายภาพวิว เราก็ควรจะใช้ค่า F แคบ ๆ ดูภาพประกอบได้ด้านล่าง


[Image: FStop-Chart-835x1024.jpg]
ขอบคุณภาพจาก pixelsandwanderlust.com

ตัวอย่างภาพที่ใช้ค่า F แคบ
[Image: Milky-Way-by-Nasim-Mansurov.jpg]

NIKON D3S + 24mm f/1.4 @ 24mm, ISO 1600, 20 seconds, f/1.4
ขอบคุณภาพจาก photographylife.com
ตัวอย่างภาพที่ใช้ค่า F กว้าง

[Image: Damselfly-Macro-Photo.jpg]
NIKON D800E + 105mm f/2.8 @ 105mm, ISO 100, 1/640, f/3.
ขอบคุณภาพจาก photographylife.com

จบกันไปแล้วครับ กับพื้นฐานการถ่ายภาพในเรื่องของรูรับแสง ในครั้งหน้า เราจะมาพูดถึงเรื่องของ ความเร็วชัตเตอร์ (Shutter Speed) ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่สำคัญเช่นกัน ส่งผลต่อการถ่ายภาพ สำหรับผลงานการถ่ายภาพของเจ้าของโพสต์ สามารถติดตามได้ที่เพจ Napas X Studio เรื่องผ่านกล้อง (ตอนนี้ยังไม่ค่อยอัพภาพ ติดงานหลวง  Angel ) แต่สามารถเข้าไปติดตามเพื่อรอชมผลงานได้ครับ สำหรับวันนี้ขอลาไปก่อนครับ ไว้เจอกัน EP.2
ตอบกลับ
#2
สาระน่ารู้ฝุดๆ ชอบการเน้นสีตัวอักษร~~~
ตอบกลับ
#3
ยอดเยี่ยมเลยกระทู้สวย ดูใสใจ สาระแน่น
ตอบกลับ
  


ไปยังหัวข้อ:


ผู้ที่กำลังดูกระทู้นี้:
1 ผู้เยี่ยมชม